VISUAL

COMMUNICATION

DESIGN

หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต

สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์

 

....................................................................................

 

ชื่อหลักสูตร   

          ภาษาไทย        :    หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาออกแบบนิเทศศิลป์

          ภาษาอังกฤษ     :    Bachelor of Fine and Applied Arts Program in Visual Communication Design

ชื่อปริญญา    

          ชื่อเต็ม (ไทย)     :    ศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต (ออกแบบนิเทศศิลป์)

          ชื่อย่อ (ไทย)      :    ศป.บ. (ออกแบบนิเทศศิลป์)

          ชื่อเต็ม (อังกฤษ)  :    Bachelor of Fine and Applied Arts (Visual Communication Design)

          ชื่อย่อ (อังกฤษ)  :    B.F.A. (Visual Communication Design)

ปรัชญาของหลักสูตร

          มุ่งผลิตบัณฑิตให้มีความสามารถในการสร้างกระบวนการคิด ผลิตงานสร้างสรรค์ ส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญา นำพาท้องถิ่นสู่สากล

ความสำคัญของหลักสูตร

         หลักสูตรศิลปกรรมศาสตรบัณฑิต สาขาออกแบบนิเทศศิลป์ มุ่งเน้นการพัฒนาบัณฑิตในการผลิตงานออกแบบเพื่อการสื่อสาร  โดยการสร้างกระบวนการคิดสร้างสรรค์  การใช้เทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการออกแบบ  ผสมผสานกับภูมิปัญญาท้องถิ่นและความเป็นสากล เพื่อให้เกิดคุณค่าทางสุนทรียศาสตร์ สังคม วัฒนธรรม และเศรษฐกิจ  ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายการขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศที่ให้ความสำคัญกับมิติทางศิลปวัฒนธรรมและภูมิปัญญา โดยมีกิจกรรมการเรียนการสอนทั้งทฤษฎีและปฏิบัติ

วัตถุประสงค์

  1. เพื่อให้บัณฑิตมีความรู้ทางวิชาการ ทักษะทางด้านศิลปกรรมและการออกแบบโดยประยุกต์ใช้ความรู้อย่างสร้างสรรค์
  2. เพื่อให้บัณฑิตมีกระบวนการคิด วิเคราะห์ แก้ปัญหา และการบูรณาการความรู้ด้านศิลปกรรม การออกแบบ การจัดการและการพัฒนางานศิลปกรรมได้อย่างมีคุณภาพ
  3. เพื่อผลิตบัณฑิตให้มีทักษะ มีความสัมพันธ์การทำงานร่วมกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ สามารถนำเสนอผลงานอย่างมีประสิทธิภาพ
  4. เพื่อผลิตบัณทิตที่มีคุณลักษณะพิเศษด้านกระบวนการคิด การสร้างสรรค์ผลงาน การสร้างมูลค่าเพิ่มจากภูมิปัญญาและวัฒนธรรม ด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการออกแบบ
  5. เพื่อผลิตบัณฑิตที่มีคุณธรรม จริยธรรม มีความรับผิดชอบต่อวิชาชีพ มีจิตสำนึกที่ดีต่อสังคม สร้างสรรค์งานออกแบบที่มีบทบาทต่อการส่งเสริมทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรมของชาติ

จำนวนหน่วยกิตที่เรียนตลอดหลักสูตร  ไม่น้อยกว่า 134  หน่วยกิต

 

การพัฒนาคุณลักษณะพิเศษของนักศึกษา

คุณลักษณะพิเศษ

กลยุทธ์หรือกิจกรรมของนักศึกษา

1.1 ด้านกระบวนการความคิดสร้างสรรค์

  1. ในทุกรายวิชาจัดให้มีกิจกรรมการเรียนการสอนที่เน้นกระบวนการคิด ที่ผ่านการรวบรวมข้อมูล วิเคราะห์ โดยกำหนดแนวคิดในลักษณะการวางแผนการออกแบบ (Design Brief)
  2. จัดให้มีกิจกรรมและโครงการส่งเสริมกระบวนการความคิด ได้แก่

 2.1 โครงการ Think Camp

               2.2 โครงการสัมมนาวิชาการ

               2.3 โครงการสร้างคนต้นแบบสู่นักออกแบบมืออาชีพ

1.2 ด้านความรู้และทักษะในการปฏิบัติงานด้วยเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการออกแบบ

 

 

1. จัดให้ในรายวิชามีทั้งภาคทฤษฎีและปฏิบัติเพื่อเพิ่มความรู้ และทักษะและนำเสนอผลงานในรูปแบบนิทรรศการ ได้แก่

      1.1 โครงการนิทรรศการหลังเรียน

      1.2 โครงการศิลปนิพนธ์

2. จัดให้มีกิจกรรมเพื่อฝึกทักษะทางด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมทางการออกแบบ ได้แก่

      2.1 โครงการสร้างคนต้นแบบสู่นักออกแบบมืออาชีพ

      2.2 โครงการอบรมทักษะทางคอมพิวเตอร์เพื่องานออกแบบ

3. จัดให้มีกิจกรรมโครงการการบูรณาการความรู้กับปัญหาและความต้องการของท้องถิ่น ได้แก่

      3.1 โครงการบูรณาการความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์สู่ท้องถิ่น

1.3 ด้านการส่งเสริมวัฒนธรรมและภูมิปัญญา

 

1. จัดให้มีรายวิชาที่เกี่ยวข้องกับศิลปวัฒนธรรมและ
ภูมิปัญญาท้องถิ่น

2. ให้นักศึกษานำประเด็นปัญหาและเอกลัษณ์จากวัฒนธรรม ภูมิปัญญา มาสร้างมูลค่าเพิ่มทางการออกแบบ

3. จัดให้มีกิจกรรมหรือโครงการส่งเสริมวัฒนธรรมและ

    ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่

   3.1 โครงการบูรณาการความรู้ด้านบรรจุภัณฑ์สู่ท้องถิ่น

   3.2 โครงการศึกษาประวัติศาสตร์ท้องถิ่น

   3.3 โครงการบริการวิชาการต่อชุมชน

 

...................................................................................................................................................................

อาชีพที่สามารถประกอบได้หลังสำเร็จการศึกษา

          1    นักออกแบบกราฟิกในหน่วยงานเอกชน/หน่วยงานราชการ

          2    นักออกแบบบรรจุภัณฑ์

          3    นักออกแบบเอกลักษณ์องค์กร

          4    นักออกแบบโฆษณา

          5    นักออกแบบหนังสือและสื่อสิ่งพิมพ์

          6    นักออกแบบเว็บไซต์

          7    นักออกแบบเพื่อสภาพแวดล้อม

          8    นักออกแบบภาพเคลื่อนไหว

          9    นักออกแบบภาพประกอบ

          10   นักถ่ายภาพ

          11   ประกอบธุรกิจส่วนตัวด้านการออกแบบ