Facebook สาขานิเทศศาสตร์

 

Statistics Statistics
68184
Online User Online1
Today Today12
Yesterday Yesterday11
ThisMonth This Month421
LastMonth Last Month680
ThisYear This Year2,683
LastYear Last Year11,835

จริยธรรม/จรรยาบรรณในวิชาชีพนิเทศศาสตร์
1. สาขาการประชาสัมพันธ์
สมาคมนักประชาสัมพันธ์แห่งประเทศไทยได้กำหนดมาตรฐานวิชาชีพการประชาสัมพันธ์ไว้ ดังนี้

หมวดทั่วไป

"ข่าว" หมายถึง เนื้อข่าว ความนำหรือตัวโปรย พาดหัวข่าว ภาพข่าว และคำบรรยายภาพ
จริยธรรมของหนังสือพิมพ์
จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์
แนวปฏิบัติของหนังสือพิมพ์และผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์
ประธานสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ
  • ซื่อสัตย์ จริงใจ ยึดมั่นในอุดมการณ์ แห่งวิชาชีพตน
  • เสียสละ อดทน เพื่อรักษามาตรฐานและพัฒนาการแห่งวิชาชีพอย่างสมศักดิ์ศรี
  • ศรัทธาในหน้าที่และมีทัศนคติที่ดีต่อองค์กร
  • สามัคคี เอื้ออาทร และเกื้อกูลระหว่างผู้ร่วมวิชาชีพเดียวกัน
  • ให้ความสำคัญในการรักษาความลับ และเคารพสิทธิส่วนบุคคล
  • คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าส่วนตน และรับผิดชอบต่อสังคมเป็นนิจ
  • นำเสนอเนื้อหาอย่างสุจริตใจ และรักษาวัฒนธรรมในการใช้ภาษา
  • เคารพรักษากฎระเบียบ และบรรทัดฐานของสังคมไทย
  • ใช้ปิยวาจา มีมนุษยสัมพันธ์ และบุคลิกภาพที่ดี
2. สาขาวิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์
         ข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทยว่าด้วย จริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ.๒๕๕๓ ตามที่รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยมีเจตนารมณ์รับรองสิทธิเสรีภาพในการเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็นของสื่อมวลชนและผู้ประกอบวิชาชีพสื่อมวลชน ได้แก่ สิทธิได้รับทราบและเข้าถึงข้อมูลหรือข่าวสารในความครอบครองของหน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐรัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น หรือส่วนบุคคล เสรีภาพในการนำเสนอ หรือเผยแพร่ข้อมูลหรือข่าวสารตามหลักวัตถุวิสัย ภายใต้พื้นฐานความรู้ และความถูกต้องครบถ้วน และเสรีภาพในการแสดงความคิดเห็น การพูด การแสดงข้อความ การโฆษณา และการสื่อความหมายโดยวิธีอื่นตามที่กฎหมายบัญญัติ
         นอกจากนี้ ผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ มีสิทธิและเสรีภาพในการนำเสนอข่าวและแสดงความคิดเห็น โดยปราศจากการแทรกแซงจากผู้บริหารเจ้าของกิจการ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง หน่วยราชการ หน่วยงานของรัฐ รัฐวิสาหกิจ ราชการส่วนท้องถิ่น กลุ่มผลประโยชน์ กลุ่มเคลื่อนไหวกดดันทางการเมืองหรือสังคมดังนั้น จึงจำเป็นต้องมีการจัดทำข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย เพื่อใช้เป็นบรรทัดฐานในการส่งเสริมการใช้สิทธิและเสรีภาพควบคู่ไปกับความรับผิดชอบต่อสังคมขององค์กรสมาชิกและสมาชิกที่เป็นผู้ประกอบวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ต่อไป
         อาศัยความตามข้อ ๑๘ (๔) แห่งธรรมนูญสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย พ.ศ. ๒๕๕๒ คณะกรรมการสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ในการประชุมครั้งที่ ๕ เมื่อวันที่ ๒๙ เดือน ธันวาคม พ.ศ. ๒๕๒๒ มีมติเห็นชอบให้ตราข้อบังคับฉบับนี้ ดังมีข้อความต่อไปนี้

หมวด ๑
หมวดทั่วไป

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า "ข้อบังคับสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย ว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ พ.ศ. ๒๕๕๓"

ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้
         "วิทยุ" หมายถึง สถานีวิทยุกระจายเสียง หรือรายการทางสถานีวิทยุ ทั้งนี้ให้รวมถึงการทำให้ปรากฏเป็นเสียง เพื่อสื่อความหมายด้วยวิธีอื่นใด ที่เป็นการเสนอข่าวโดยทั่วไปและความคิดเห็นโดยสถานีหรือรายนั้นด้วย
         "โทรทัศน์" หมายถึง สถานีวิทยุโทรทัศน์ หรือรายการทางสถานีวิทยุโทรทัศน์รวมทั้งการกระจายสัญญาณวิทยุโทรทัศน์แบบบอกรับเป็นสมาชิกและการกระจายสัญญาณวิทยุโทรทัศน์ผ่านดาวเทียม ทั้งนี้ ให้รวมถึงการทำให้ปรากฏเป็นเสียงและภาพ เพื่อสื่อความหมายด้วยวิธีอื่นใด ที่เป็นการเสนอข่าวโดยทั่วไปและความคิดเห็นโดยสถานีหรือรายการนั้นด้วย
         "สมาชิก" หมายถึง องค์กรสมาชิกสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย และผู้ประกอบวิชาชีพข่าวในองค์กรสมาชิกนั้นด้วย
         "ผู้ประกอบวิชาชีพข่าว" หมายถึง เจ้าของสถานี ผู้ได้รับใบอนุญาตประกอบกิจการ บรรณาธิการ ผู้อำนวยการหรือหัวหน้าฝ่ายข่าว และให้หมายความรวมถึง ผู้ประกอบการด้านข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์แลผู้ปฏิบัติงานด้านข่าววิทยุกระจายเสียงและวิทยุโทรทัศน์ด้วย

ข้อ ๔ สมาชิก หรือผู้ประกอบวิชาชีพข่าว ผู้ใดฝ่าฝืนหรือไม่ปฏิบัติตามข้อบังคับนี้ ข้อใดข้อหนึ่ง ผู้นั้นประพฤติผิดจริยธรรมแห่งวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์สมาชิกใดกำหนดจริยธรรมขององค์ตนเองไว้แล้ว และมีหลักเกณฑ์ต่ำกว่าหลักเกณฑ์ที่กำหนดในข้อบังคับนี้ ให้ใช้ข้อบังคับนี้

หมวด ๒
จริยธรรมของวิทยุและโทรทัศน์

ข้อ ๕ วิทยุและโทรทัศน์ต้องนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องตามหลักวัตถุวิสัย ภายใต้พื้นฐานความรู้ และความถูกต้องครบถ้วน

ข้อ ๖ วิทยุและโทรทัศน์ต้องนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องเพื่อประโยชน์แห่งสาธารณะ และไม่ละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้อื่น

ข้อ ๗ วิทยุและโทรทัศน์มีหน้าที่ปฏิบัติตนตามจริยธรรมแห่งวิชาชีพ ดังนี้
(๑) ต้องนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องแก่สาธารณะชนตามหลักวัตถุวิสัย ด้วยความถูกต้องเที่ยงตรง แม่นยำ และครบถ้วน ด้วยความเป็นธรรมโดยปราศจากอคติ ๔ ได้แก่ ฉันทาคติ โทษาคติ ภยาคติ และโมหาคติ

(๒) หากมีการอ้างอิง หรือคัดลอกข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจากแหล่งข้อมูลอื่น ต้องแจ้งที่มาของข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่นำเสนอหรือเผยแพร่ดังกล่าว

(๓) ต้องปกปิดชื่อตัว ชื่อสกุล รูปร่าง ลักษณะ และสถานะของแหล่งข่าว รวมทั้งข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องสำคัญที่แหล่งข่าวประสงค์ให้ปกปิด เว้นแต่จะได้รับความยินยอมจากแหล่งข่าว และเห็นได้อย่างชัดแจ้งว่า การเปิดเผยดังกล่าวไม่เป็นอันตรายต่อแหล่งข่าว

(๔) การนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่เกิดความผิดพลาดต้องดำเนินการแก้ไขความผิดพลาดโดยทันที พร้อมทั้งขออภัยในความผิดพลาดดังกล่าว

(๕) การนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องต้องคำนึงถึงสิทธิมนุษยชน ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ และไม่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์และโศกนาฏกรรมแก่ผู้ที่ตกเป็นข่าว

(๖) การนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องต้องตระหนักถึงประโยชน์แห่งสาธารณะ

(๗) การแสดงความคิดเห็น หรือการวิจารณ์ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ต้องให้ความเป็นธรรมแก่ผู้ที่ถูกพาดพิง และต้องแยกแยะให้ชัดเจนว่า เป็นข้อเท็จจริงหรือเป็นการแสดงความคิดเห็น โดยต้องแจ้งให้ทราบว่า เป็นการแสดงความคิดเห็นหรือการวิจารณ์ของผู้ประกอบวิชาชีพข่าวนั้น การแสดงความคิดเห็นพึงกระทำโดยบริสุทธิ์ใจ และไม่มีพันธะกรณีอื่นใด นอกจากมุ่งปฏิบัติหน้าที่เพื่อสาธารณชน โดยไม่ยอมให้อิทธิพลอื่นใดมาครอบงำความคิดเห็น

(๘) ต้องแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการให้ความเป็นธรรมแก่ผู้เกี่ยวข้องทุกฝ่าย

(๙) ต้องไม่นำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องโดยมีการประกาศโฆษณาที่แอบแฝงมาพร้อมกับข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องจนทำให้ประชาชนหลงเชื่อในความเป็นข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง

(๑๐) ต้องระมัดระวังไม่นำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ตนเองหรือพวกพ้องมีผลประโยชน์ทับซ้อน หากผู้ประกอบวิชาชีพข่าวมีผลประโยชน์ทับซ้อนกับข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้อง ต้องแจ้งหรือรายงานพร้อมกับการนำเสนอหรือเผยแพร่ดังกล่าวทันที

(๑๑) ต้องระมัดระวังการนำเสนอหรือเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องภายใต้ขอบเขตแห่งขนบธรรมเนียม ประเพณี ศีลธรรมอันดีงามของประชาชน มิให้ประชาชนหลงเชื่อในสิ่งที่งมงาย และไม่เป็นเครื่องมือในการนำเสนอหรือเผยแพร่สิ่งที่เป็นภัยต่อสังคม หรือกระทบต่อสาธารณะ

หมวด ๓
จริยธรรมของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว

ข้อ ๘ ต้องไม่อวดอ้างตำแหน่งหน้าที่ของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว หรือตำแหน่งหน้าที่อื่นเพื่อเรียกร้องประโยชน์ที่ไม่ชอบธรรม

ข้อ ๙ ต้องไม่รับอามิส สินจ้าง หรือผลประโยชน์ใด ๆ เพื่อให้กระทำการหรือไม่กระทำการใด อันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องอย่างถูกต้องรอบด้าน

ข้อ ๑๐ ต้องไม่ประกอบอาชีพ หรือวิชาชีพ หรือดำเนินธุรกิจ หรือประพฤติตนอันเป็นการฝ่าฝืนต่อศีลธรรมอันดี หรือเป็นการเสื่อมเสียต่อศักดิ์ศรีและเกียรติคุณของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว

หมวด ๔
แนวปฏิบัติของผู้ประกอบวิชาชีพข่าว

ข้อ ๑๑ การได้มา หรือการนำเสนอหรือการเผยแพร่ข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องพึงใช้วิธีการที่สุภาพ ซื่อสัตย์ หลีกเลี่ยงการใช้ถ้อยคำที่ไม่สุภาพ หรือมีความหมายที่ดูถูก เหยียดหยามผู้อื่น

ข้อ ๑๒ พึงไม่รับตำแหน่งหน้าที่ หรือประโยชน์อื่นใด เพื่อกระทำการหรืองดเว้นกระทำการใด ๆ อันขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข่าวสารและข้อมูลที่เกี่ยวข้องที่ถูกต้องครบถ้วน หรือเพื่อให้บุคคลใด ๆ ได้รับประโยชน์ที่ไม่ชอบด้วยกฎหมาย

ประกาศ ณ วันที่ ๘ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๕๓
(นายวสันต์ ภัยหลีกลี้)
ประธานสภาวิชาชีพข่าววิทยุและโทรทัศน์ไทย
ที่มา: http://www.thaibja.org/thaibja/images/documents/NBCT/ethics_nbct.pdf

3. สาขาวารสารศาสตร์
ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์สภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๑

        โดยที่เจ้าของ ผู้ประกอบการ บรรณาธิการ และผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ทั้งหลายได้พร้อมใจกัน สถาปนาสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ ให้เป็นองค์กรอิสระ ทำหน้าที่ควบคุมกันเอง เพื่อส่งเสริมเสรีภาพ ความรับผิดชอบ สถานภาพผู้ประกอบวิชาชีพและกิจการหนังสือพิมพ์ ตลอดจนส่งเสริมสนับสนุนสิทธิการใช้สื่อหนังสือพิมพ์ เพื่อการรับรู้ข่าวสาร และการแสดงความคิดเห็นของพลเมืองในระบอบประชาธิปไตย อันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข โดยส่งเสริมให้หนังสือพิมพ์ทำหน้าที่ให้การศึกษาแก่ประชาชน รวมทั้งยึดถือความยุติธรรม และความเที่ยงธรรมเป็นหลักในการประกอบวิชาชีพ อาศัยความตามข้อ ๕ (๑) และข้อ ๑๔ (๔) แห่งธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ คณะกรรมการสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ มีมติเห็นชอบให้ตราข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ไว้ดัง ต่อไปนี้

หมวด ๑

ข้อ ๑ ข้อบังคับนี้เรียกว่า “ข้อบังคับว่าด้วยจริยธรรมแห่งวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พ.ศ.๒๕๔๑”

ข้อ ๒ ข้อบังคับนี้ให้ใช้บังคับตั้งแต่วันประกาศเป็นต้นไป

ข้อ ๓ ในข้อบังคับนี้

ข่าว

"หนังสือพิมพ์" หมายถึง หนังสือพิมพ์ตามธรรมนูญสภาการหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ.๒๕๔๐ ข้อ ๓
"ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์" หมายถึงผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ตามธรรมนูญสภา การหนังสือพิมพ์แห่งชาติ พ.ศ. ๒๕๔๐ ข้อ ๓

หมวด ๒

ข้อ ๔ หนังสือพิมพ์ต้องยึดถือข้อเท็จจริง ความถูกต้องแม่นยำและความครบถ้วน

ข้อ ๕ หนังสือพิมพ์ต้องนำเสนอข่าวเพื่อประโยชน์สาธารณะ โดยไม่แสวงหาผลประโยชน์ส่วนตนหรือ หมู่คณะ

ข้อ ๖ หนังสือพิมพ์ต้องแสดงความพยายาม ในการให้ความเป็นธรรมแก่ทุกฝ่าย

ข้อ ๗ หนังสือพิมพ์ต้องไม่แต่งเติมเนื้อหาสาระของข่าว จนคลาดเคลื่อนหรือเกินจากความเป็นจริง

ข้อ ๘ หนังสือพิมพ์ ต้องละเว้นการเสนอข่าวเพราะความลำเอียง หรือมีอคติจนเป็นเหตุให้ข่าวนั้นคลาด เคลื่อนหรือเกินจากความเป็นจริง

ข้อ ๙ หนังสือพิมพ์ต้องไม่สอดแทรกความคิดเห็นลงในข่าว

ข้อ ๑๐ เมื่อคัดลอกข้อความใดจากหนังสือพิมพ์ สิ่งพิมพ์ หรือแหล่งข้อมูลอื่น ๆ ต้องบอกที่มาของข้อความ นั้น

ข้อ ๑๑ การเสนอข่าวที่มีการพาดพิง อันอาจเกิดความเสียหายแก่บุคคลหรือองค์กรใด ๆ ต้องแสดงถึงความ พยายามในการเปิดโอกาสให้ฝ่ายที่ถูกกล่าวหาแสดงข้อเท็จจริงด้วย

ข้อ ๑๒ ในกรณีที่มีการเสนอข่าวผิดพลาด หนังสือพิมพ์ต้องลงพิมพ์แก้ไขข้อผิดพลาด ดังกล่าวโดยไม่ชักช้า

ข้อ ๑๓ หนังสือพิมพ์ต้องไม่เสนอข่าวโดยเลื่อนลอยปราศจากแหล่งที่มา พึงระบุชื่อบุคคลที่ให้สัมภาษณ์หรือให้ข่าวอย่างเปิดเผย เว้นแต่จะมีเหตุอันควรปกปิดเพื่อสวัสดิภาพและความปลอดภัยของแหล่งข่าว และต้องเป็น ประโยชน์ต่อสิทธิในการรับรู้ข่าวสารของสาธารณชน

ข้อ ๑๔ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดชื่อและฐานะของบุคคลที่ให้ข่าวไว้เป็นความลับ หากได้ให้คำมั่นแก่แหล่ง ข่าวนั้นไว้ หนังสือพิมพ์ต้องปกปิดนามปากกาหรือนามแฝงที่ปรากฎในหนังสือพิมพ์ฉบับนั้นไว้เป็นความลับ

ข้อ ๑๕ ในการเสนอข่าวหรือภาพใด ๆ หนังสือพิมพ์ต้องคำนึงมิให้ล่วงละเมิดศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ของ บุคคลที่ตกเป็นข่าวโดยเฉพาะอย่างยิ่ง ต้องให้ความคุ้มครองอย่างเคร่งครัดต่อสิทธิมนุษยชนของเด็ก สตรีและผู้ด้อย โอกาส ในการเสนอข่าวตามวรรคแรกต้องไม่เป็นการซ้ำเติมความทุกข์หรือโศกนาฏกรรมอันเกิดแก่เด็ก สตรีและผู้ ด้อยโอกาสนั้นไม่ว่าทางใดทางหนึ่ง

ข้อ ๑๖ การพาดหัวข่าวและความนำของหนังสือพิมพ์ ต้องไม่เกินไปจากข้อเท็จจริงในข่าวและต้องสะท้อน ใจความสำคัญหรือเนื้อหาหลักของข่าว

ข้อ ๑๗ หนังสือพิมพ์จะต้องไม่เสนอภาพข่าวที่อุจาด ลามกอนาจาร หรือน่าหวาดเสียวโดยไม่คำนึงถึงความรู้ สึกของสาธารณชนอย่างถี่ถ้วน

ข้อ ๑๘ ในการแสดงความคิดเห็นหรือการวิพากษ์วิจารณ์ หนังสือพิมพ์ต้องให้ความเที่ยงธรรมแก่ฝ่ายที่ถูก พาดพิงเสมอ

ข้อ ๑๙ ข้อความที่เป็นประกาศโฆษณา ที่ปรากฏอยู่ในหนังสือพิมพ์ ต้องแสดงให้เห็นชัดว่าเป็นประกาศ โฆษณา จะแอบแฝงเป็นการเสนอข่าวหรือความคิดเห็นมิได้

หมวด ๓

ข้อ ๒๐ ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ต้องไม่ประพฤติปฏิบัติการใดๆ อันจะนำมาซึ่งความเสื่อมเสียเกียรติ ศักดิ์แห่งวิชาชีพ

ข้อ ๒๑ ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ต้องไม่อวดอ้างหรืออาศัยตำแหน่งหน้าที่ เพื่อเรียกร้องสิทธิหรือผล ประโยชน์ใด ๆ ที่ไม่ชอบธรรม

ข้อ ๒๒ ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ ต้องละเว้นการรับอามิสสินจ้างอันมีค่า หรือผลประโยชน์ใดๆ เพื่อ ให้กระทำการหรือไม่กระทำการใดอันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้อง รอบด้าน

หมวด ๔

ข้อ ๒๓ ผู้ประกอบวิชาชีพหนังสือพิมพ์ พึงละเว้นการรับอภิสิทธิ์ หรือตำแหน่ง เพื่อให้กระทำการ หรือไม่ กระทำการใดอันจะขัดต่อการปฏิบัติหน้าที่เพื่อให้ประชาชนได้รับข้อมูลข่าวสารอย่างถูกต้องรอบด้าน

ข้อ ๒๔ การเสนอข่าวของหนังสือพิมพ์ พึงตระหนักถึงความสำคัญของข่าวต่อสาธารณชนและไม่เสนอข่าว ในทำนองชวนเชื่อในเรื่องที่ไม่เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ

ข้อ ๒๕ การได้มาซึ่งข่าวสาร หนังสือพิมพ์พึงใช้วิธีที่สุภาพและซื่อสัตย์

ข้อ ๒๖ ในการแสดงความคิดเห็น หนังสือพิมพ์พึงกระทำโดยบริสุทธิ์ใจ และไม่มีพันธะกรณีอื่นใด นอก จากมุ่งปฏิบัติหน้าที่เพื่อสาธารณชน โดยไม่ยอมให้อิทธิพลอื่นใดมาครอบงำความคิดเห็น

ข้อ ๒๗ หนังสือพิมพ์ พึงละเว้นการล่วงละเมิดสิทธิส่วนบุคคล เว้นแต่กรณีเพื่อประโยชน์สาธารณะ

ข้อ ๒๘ หนังสือพิมพ์พึงใช้ความระมัดระวังอย่างรอบคอบ ให้ประกาศโฆษณาทั้งหลายอยู่ภายในขอบเขต ของศีลธรรมและวัฒนธรรม หนังสือพิมพ์พึงระมัดระวังที่จะไม่เป็นเครื่องมือในการเผยแพร่ประกาศโฆษณาที่น่า สงสัยว่าจะเป็นภัยแก่สังคมหรือสาธารณชน

ข้อ ๒๙ หนังสือพิมพ์พึงหลีกเลี่ยงการเผยแพร่ประกาศโฆษณาที่มีเหตุให้น่าเชื่อว่าเจ้าของประกาศโฆษณา นั้น เจตนาจะทำให้ผู้อ่านหลงเชื่อในสิ่งที่งมงาย

ข้อ ๓๐ ภาษาที่ใช้ในหนังสือพิมพ์พึงหลีกเลี่ยงคำที่ไม่สุภาพ หรือมีความหมายเหยียดหยาม

ประกาศ ณ วันที่ ๓๐ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๔๑
นายมานิจ สุขสมจิตร
ที่มา:http://www.presscouncil.or.th/th2/index.php?option=com_content&view=article&id=84&Itemid=100018