สาขาวิชาการสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร
หลักสูตรการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ได้กำหนด การจัดกิจกรรมฝึกบัณฑิตนักปฏิบัติสู่ความเป็นมืออาชีพด้านการเงินและการธนาคาร โดยประกอบด้วย 6 กิจกรรม ได้แก่บริษัทจำลอง F&B Smart Shop ฝึกเครื่องใช้สำนักงาน ฝึกเครื่องใช้คำนวณ ปฐมนิเทศบัณฑิตนักปฏิบัติ ฝึกบัณฑิตนักปฏิบัติ และปัจฉิมนิเทศบัณฑิตนักปฏิบัติ ซึ่งกิจกรรมดังกล่าวคณะทำงานทั้งหมดได้มีการวางแผน การปฏิบัติงาน การตรวจสอบ และการดำเนินงานให้เหมาะสม
1. วัตถุประสงค์
1.1 เพื่อให้นักศึกษาได้เพิ่มทักษะสร้างเสริมประสบการณ์ เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติก่อนการฝึกประสบการณ์วิชาชีพ
1.2 เพื่อให้นักศึกษาได้เรียนรู้ถึงสภาพปัญหา และวิธีการแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นอย่างมีเหตุผล
2. แนวปฏิบัติที่ดี (วิธีการ/กระบวนการ/แนวทางการดำเนินงานตาม PDCA)
แนวทางการดำเนินงานตาม PDCA
Plan (วางแผน)
ประชุมอาจารย์ประจำหลักสูตร เพื่อกำหนดทักษะที่จำเป็นของบัณฑิตนักปฏิบัติด้านการเงินและการธนาคารพิจารณาคณาจารย์ที่คุณวุฒิและประสบการณ์ทางด้านการเงินและการธนาคารเพื่อดำเนินการและให้คำปรึกษาแก่นักศึกษาประชุมคณะทำงาน พร้อมทั้งกำหนดระยะเวลาและคัดเลือกกิจกรรม ที่เสริมสร้างทักษะของบัณฑิตนักปฏิบัติ
Do (ปฏิบัติ)
หลักสูตรการบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการสาขาวิชาการเงินและการธนาคาร ได้ร่วมกันพิจารณาทักษะที่จำเป็นของบัณฑิตนักปฏิบัติด้านการเงินและการธนาคาร ผ่านกิจกรรม 6 กิจกรรมดังต่อไปนี้
กิจกรรมที่ 1 บริษัทจำลอง F&B Smart Shop
กิจกรรมที่ฝึกให้นักศึกษาใช้ความรู้จากทฤษฎีที่ได้เรียนมาตั้งแต่ชั้นปีที่ 1-3 โดยจัดหาสถานที่ในการจัดจำหน่ายสินค้า เตรียมซื้อสินค้า เข้าร้าน โปรโมทร้านและรายการสินค้าโดยการแจกใบปลิว และโพสต์ทาง Facebook สรุปบัญชีรายรับ และรายจ่าย ของแต่ละวันใส่ในโปรแกรม Quick Book ทั้งนี้นักศึกษาแบ่งหน้าที่ดำเนินงานในบริษัทจำลอง F&B Smart Shop ไว้อย่างชัดเจน ได้แก่ฝ่ายบริหารงาน ฝ่ายขาย ฝ่ายการตลาด ฝ่ายจัดซื้อ ฝ่ายคลังสินค้า ฝ่ายบัญชีและการเงิน ฝ่ายสถานที่ ฝ่ายจัดทำเอกสาร
กิจกรรมที่ 2 ฝึกเครื่องใช้สำนักงาน
เป็นกิจกรรมที่ให้มีเจ้าหน้าที่อธิบายวิธีใช้ เครื่องถ่ายเอกสาร เครื่องอัดสำเนา เครื่องรับ - ส่ง แฟกซ์ และมอบหมายให้นักศึกษาทุกคนได้ทดลองฝึกใช้เครื่องใช้สำนักงานทุกชิ้น
กิจกรรมที่ 3 ฝึกเครื่องใช้คำนวณ
อาจารย์ผู้สอนได้ให้นักศึกษาได้ทดลอง ฝึกกดตัวเลขจากเครื่องคำนวณจริงที่ไม่เคยได้ใช้หรือได้สัมผัสมาก่อน และอาจารย์ผู้สอนก็ให้นักศึกษาฝึกกดตัวเลขต่อเนื่อง โดยดูตัวเลขจากหนังสือจนให้นิ้วนั้นสัมผัสตัวเลขได้คล่อง จากนั้นจะการทดสอบให้นักศึกษากดตัวเลขที่กำหนดให้ในหนังสือให้เสร็จภายในเวลา 3 นาที
กิจกรรมที่ 4 ปฐมนิเทศบัณฑิตนักปฏิบัติ
เป็นกิจกรรมที่ให้คณาจารย์แนะนำถึงการปฏิบัติตัวและเตรียมความพร้อมก่อนที่นักศึกษาจะออกไปฝึกปฏิบัติกับหน่วยงานทางด้านการเงินและการธนาคาร ในด้านการแต่งกาย มารยาททางกายและวาจา ความรับผิดชอบต่องานที่ได้รับมอบหมาย ความซื่อสัตย์ เป็นต้น
กิจกรรมที่ 5 ฝึกบัณฑิตนักปฏิบัติ
เป็นกิจกรรมที่นักศึกษาชั้นปีที่ 4 ทุกคนได้ออกไปปฏิบัติงานกับหน่วยงานภาครัฐและเอกชนทางด้านการเงินและการธนาคาร ซึ่งส่วนใหญ่จะเป็นการฝึกงานในธนาคารในพื้นที่จังหวัดกรุงเทพฯ นครปฐม ราชบุรี กาญจนบุรี สุพรรณ อยุธยา ทั้งนี้งาน ที่นักศึกษาได้ปฏิบัติ มีการทำเปิดบัญชี-ปิดบัญชีให้ลูกค้า เรียนรู้ขั้นตอนการทำงานต่างๆ ตามที่พวก พี่ที่ธนาคารพาณิชย์สอนงานทุกๆอย่างมีการนับเหรียญ จัดเก็บเอกสารต่างๆ ต้อนรับลูกค้า ทำบัตร ATM ให้ลูกค้า งานที่ได้ปฏิบัติส่วนใหญ่จะเป็นการลงข้อมูลในโปรแกรม Excel คีย์ข้อมูลในโปรแกรม CD Organizer และโปรแกรม E-onemain ลงบันทึกข้อมูลบัญชี 1 และบัญชี 2 ในสมุดรายวันจ่าย
กิจกรรมที่ 6 ปัจฉิมนิเทศบัณฑิตนักปฏิบัติ
เป็นกิจกรรมที่ให้บัณฑิตนักปฏิบัติออกมา นำเสนอประสบการณ์หลังจากที่ได้ออกไปปฏิบัติงานในระยะเวลา 1 เดือน เพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนเรียนรู้จากประสบการณ์จริง พร้อมทั้งช่วยกันนำเสนอข้อเสนอแนะเพื่อให้แนวทางปฏิบัติที่ดีเพื่อแก้ไข ปัญหาจากการที่ได้ออกไปจากการปฏิบัติงานจริง
2.3 Check (ตรวจสอบ)
คณะกรรมการติดตามและประเมินผลการดำเนินงานในแต่ละกิจกรรม
2.2 Act (การดำเนินการให้เหมาะสม)
สรุปปัญหาจากผลการประเมินผลและหาแนวทางแก้ไขเพื่อปรับปรุงการดำเนินงานใน ปีการศึกษาต่อไป
3. ปัจจัยแห่งความสำเร็จ
1. คณาจารย์ได้มีการวางแผน ติดตาม และประเมินผลการดำเนินงาน
2. นักศึกษามีความกระตือรือร้น ตั้งใจในการเข้าร่วมกิจกรรม
3. หน่วยงานมีความพร้อมและเปิดโอกาสให้นักศึกษาได้เข้าร่วมฝึกปฏิบัติงานจริง
4. ปัญหาอุปสรรคและแนวทางแก้ไข
1. ในระยะเวลาที่ดำเนินการกิจกรรมฝึกปฏิบัติมีคาบเกี่ยวกับการเรียนการสอน จึงทำให้ส่งผลต่อการจัดการเรียนการสอนในภาคทฤษฎี