Statistics Statistics
35102
Online User Online1
Today Today5
Yesterday Yesterday4
ThisMonth This Month190
LastMonth Last Month334
ThisYear This Year1,051
LastYear Last Year4,786

การใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ

The use of teaching technology in Local Exporter and International Business Subject

 

         การวิจัยในชั้นเรียน เรื่อง การใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ สาขาวิชาธุรกิจระหว่างประเทศ คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ผลการศึกษาครั้งนี้มีประเด็นที่จะสรุปผลการวิจัย อภิปรายผล ข้อเสนอแนะเพื่อการวิจัยในครั้งต่อไป           

วัตถุประสงค์ของการวิจัย

1. เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ

2. เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ

 

สรุปผลการศึกษา

         การศึกษาเรื่อง การใช้เทคโนโลยี(คลิปวิดีโอ) ประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 2 ข้อ ซึ่งสามารถสรุปผลการศึกษาตามวัตถุประสงค์ของการวิจัยได้ดังนี้

 

         วัตถุประสงค์ข้อที่ เพื่อศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของผู้เรียนในการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ 

 

            ความรู้ความเข้าใจ จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องการใช้เทคโนโลยี(คลิปวิดีโอ) ประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบหลังการใช้เทคโนโลยี (คลิปวิดีโอ) สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบก่อนเรียน

 

            การเปรียบเทียบผลคะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน พบว่ามีความแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ 0.1 โดยคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบหลังเรียนมีค่าสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน

 

            วัตถุประสงค์ข้อที่ 2 เพื่อประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนต่อการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ

 

                จากการวิเคราะห์ข้อมูลส่วนบุคคล พบว่าผู้ให้ข้อมูลเป็นเพศหญิง จำนวน 38 คน คิดเป็นร้อยละ 73.1 รองลงมาเป็นเพศชาย จำนวน 14 คน คิดเป็นร้อยละ 26.9 ตามลำดับ

 

           จากการวิเคราะห์ความพึงพอใจของผู้เรียนผู้เรียนต่อการใช้เทคโนโลยี(คลิปวิดีโอ) ประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ แสดงว่า ระดับความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ( =4.60, S.D.=.49) เมื่อพิจารณารายข้อข้อที่ผู้ให้ข้อมูลมีความพึงพอใจการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ อยู่ในระดับมาก คือ การใช้สื่อเทคโนโลยี(คลิปวีดีโอ) มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียน ได้แก่ ( =4.48, S.D.=.50) มีการใช้สื่อเทคโนโลยี(คลิปวีดีโอ) กระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความเข้าใจ ( =4.42,S.D.=.50)

        

การอภิปรายผล

 

         การศึกษาวิจัยในชั้นเรียน  เรื่อง การใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน  กับผู้เรียนในรายวิชา

ผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ ผลการศึกษาวิจัยครั้งนี้มีประเด็นที่ศึกษาเกี่ยวกับวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยเทคโนโลยี (คลิปวิดีโอ) ทำการทดสอบก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยคลิปวิดีโอ และการประเมินความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการใช้เทคโนโลยีประกอบการเรียนการสอน ซึ่งมีประเด็นที่น่าสนใจนำไปสู่การอภิปรายผลดังนี้

 

          จากการสังเกตของผู้วิจัยในระหว่างการสอนพบว่านักศึกษามีความสนใจต่อการเรียน มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมการเรียนการสอน ซึ่งสอดคล้องกับหลักทฤษฎีของ อาภรณ์ ใจเที่ยง (2550 : 17–19) ได้กล่าวว่าการเรียนรู้จะเกิดขึ้นได้ดีต้องอาศัยปัจจัยส่งเสริมหลายด้าน คือตัวผู้เรียน  บทเรียน  วิธีจัดการเรียนการสอน ได้แก่  การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ผู้เรียนจะเกิดการเรียนรู้ได้ดีและรวดเร็ว ถ้าผู้เรียนมีส่วนร่วมในการเรียนการสอนอย่างเหมาะสม และสภาพแวดล้อมทางการเรียน และสอดคล้องกับงานวิจัยของ นภัทร รัตนนาคินทร์ (2555)  ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนโดยนักศึกษาจำนวน 105 คน จาก 215 คน สรุปการประเมินคำถามแบบเปิดและแบบปิดคะแนนนักศึกษามีความคิดเห็นต่อการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้สรุปได้ว่าการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ดีนั้นควรจะมีรูปแบบที่เข้าใจง่ายสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ และสอดคล้องกับงานวิจัย อังสนา  จั่นแดง  คเณศวร์  วรรณโชติ (2547) ความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ผลการวิจัยพบว่า นักศึกษามีความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานโดยเฉลี่ยอยู่ในระดับดี ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการทำแบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียนแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ระดับความพึงพอใจต่อการใช้บทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอนประกอบการเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐานมีสหสัมพันธ์ทางลบกับผลสัมฤทธิ์หลังเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งอาจมีสาเหตุมาจากสภาพแวดล้อมที่ไม่สะดวกในการใช้สื่อ

 

          ความรู้ความเข้าใจ จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน และหลังเรียน เรื่องการใช้เทคโนโลยี(คลิปวิดีโอ) ประกอบการเรียนการสอนกับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ พบว่ากลุ่มตัวอย่างมีคะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบหลังการใช้เทคโนโลยี (คลิปวิดีโอ) สูงกว่า คะแนนเฉลี่ยการทำแบบทดสอบก่อนเรียน

              

          ความพึงพอใจต่อการการใช้เทคโนโลยี (คลิปวิดีโอ) ประกอบการเรียนการสอน กับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุด คือกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดการค้นคว้าเพิ่มเติม รองลงมา คือทำให้ผู้เรียนเข้าใจเนื้อหาได้ง่าย ทำให้ผู้เรียนจดจำได้แม่นยำขึ้น ดึงดูดความสนใจ รับความรู้ แนวคิดและประสบการณ์ใหม่ ซึ่งสอดคล้องกับงานวิจัยของ นภัทร รัตนนาคินทร์ (2555)  ผลการประเมินความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ของผู้สอนโดยนักศึกษาจำนวน 105 คน จาก 215 คน สรุปการประเมินคำถามแบบเปิดและแบบปิดคะแนนนักศึกษามีความคิดเห็นต่อการสอนอยู่ในเกณฑ์ดี ทำให้สรุปได้ว่าการเรียนรู้จากสื่ออิเล็กทรอนิกส์ที่ดีนั้นควรจะมีรูปแบบที่เข้าใจง่ายสามารถนาไปใช้ประโยชน์ได้ การเรียนรู้ที่ดีเป็นที่ยอมรับจำเป็นที่ต้องตรวจสอบด้านประสิทธิภาพของสื่อ การออกแบบสื่อและความถูกต้องของสื่อ  ผลการวิจัยเมื่อสรุปตามวัตถุประสงค์การวิจัยเกี่ยวกับการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนรู้ของผู้เรียน คะแนน ความพึงพอใจของผู้เรียนที่มีต่อการเรียนรู้สื่อการสอนอิเล็กทรอนิกส์จากค่าเฉลี่ยการเข้าชั้นเรียน 84.57% ซึ่งนานักศึกษา 105 คน มาช่วยประเมินความพึงพอใจแบบปิดและแบบเปิดแล้วได้คะแนนในระดับดี และสอดคล้องกับงานวิจัยของประจวบ เพิ่มสุวรรณ (2552) เรื่องความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดยใช้วิธีกรณีศึกษาผลการวิจัยพบว่าระดับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการเรียนการสอนโดย ใช้กรณีศึกษาอยู่ในระดับสูง และความพึงพอใจของนักศึกษาแต่ละภาควิชาไม่แตกต่างกัน

        

         ความพึงพอใจต่อการการใช้เทคโนโลยี (คลิปวิดีโอ) ประกอบการเรียนการสอน กับผู้เรียนในรายวิชาผู้ส่งออกท้องถิ่นกับธุรกิจระหว่างประเทศ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก ที่สุด เมื่อพิจารณารายข้อ ข้อที่มีความพึงพอใจในระดับมาก คือ มีความสอดคล้องกับเนื้อหาในบทเรียน และกระตุ้นให้เกิดความเข้าใจ

 

ข้อเสนอแนะ

         1. ข้อเสนอแนะในการนำผลการวิจัยครั้งนี้ไปใช้ประโยชน์

         จากผลการศึกษาพบว่า การใช้เทคโนโลยี รูปแบบต่างๆเข้าอยู่ในระบบการเรียนการสอน จะส่งผลให้ผู้เรียนเกิดความสนใจ ตื่นเต้นซึ่งจะทำให้ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดีขึ้น ดังนั้นควรจัดสื่อการเรียนการสอนที่มีความทันสมัย สะดวก ดึงดูดต่อผู้เรียน

 

         2. ข้อเสนอแนะในการทำวิจัยครั้งต่อไป

            2.1 ศึกษาเครื่องมืออื่นๆที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการเรียน

            2.2 ศึกษาสื่อการเรียนการสอนที่ส่งเสริมพฤติกรรมการเข้าชั้นเรียน