Statistics Statistics
42087
Online User Online1
Today Today21
Yesterday Yesterday5
ThisMonth This Month258
LastMonth Last Month357
ThisYear This Year1,374
LastYear Last Year6,198

 

ประวัติความเป็นมาหลักสูตรบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์


                         ปัจจุบันสภาพเศรษฐกิจและสังคมมีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็วทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล มีการลงทุนและแข่งขันทางธุรกิจทั้งภายในและระหว่างประเทศที่รุนแรงขึ้น บริษัทและองค์กรต่างๆ จำเป็นต้องปรับปรุงและพัฒนารูปแบบการปฏิบัติการเพื่อเพิ่มศักยภาพและสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขันเหนือคู่แข่งขัน โดยแนวคิดการจัดการโลจิสติกส์และโซ่อุปทานเป็นปัจจัยสำคัญหนึ่งที่ช่วยเพิ่มขีดความสามารถทางการแข่งขันของธุรกิจ และทุกภาคส่วนได้เล็งเห็นถึงความสำคัญของระบบโลจิสติกส์ จึงดำเนินการจัดทำ “แผนยุทธศาสตร์การพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทย” เพื่อสนับสนุนการพัฒนาระบบโลจิสติกส์ของประเทศไทยให้มีประสิทธิภาพทัดเทียมกับนานาประเทศ และรองรับการเปิดประชาคมอาเซียนในพุทธศักราช 2558
                         นอกจากนี้ ทุกภาคส่วนยังเล็งเห็นถึงความสำคัญของบุคลากรที่ปฏิบัติงานด้านโลจิสติกส์ จึงดำเนินการจัดทำ “แผนปฏิบัติการพัฒนาบุคลากรด้านโลจิสติกส์” และ “แผนยุทธศาสตร์วิจัยเพื่อพัฒนาสมรรถนะของบุคลากรด้านโลจิสติกส์” ซึ่งปัจจุบันประเทศไทยยังมีการผลิตบุคลากรเข้าสู่ตลาดแรงงานไม่เพียงพอที่จะสนองความต้องการของบริษัทและองค์กรทั้งในระดับท้องถิ่นและสากล รวมถึงสมรรถนะการปฏิบัติงานของบุคลากรยังไม่สอดคล้องตามเกณฑ์มาตรฐานสากล โดยจังหวัดนครปฐมถือเป็นแหล่งเกษตรกรรม อุตสาหกรรม และการท่องเที่ยวที่สำคัญแห่งหนึ่งของภาคตะวันตก และเป็นประตูเชื่อมต่อไปสู่ภาคใต้ รวมถึงสามารถเชื่อมต่อไปยังท่าเรือน้ำลึกทวายของประเทศพม่าที่จะเป็นหนึ่งในระบบโลจิสติกส์ที่สำคัญของภูมิภาคอาเซียนในอนาคต
                         มหาวิทยาลัยได้เล็งเห็นความสำคัญดังกล่าว จึงได้รับการอนุมัติให้เปิดหลักสูตรบริหารธุรกิจบัณฑิต สาขาวิชาการจัดการโลจิสติกส์ขึ้น เพื่อสนับสนุนอุตสาหกรรมทั้งการเกษตร การผลิต การค้า และการบริการในท้องถิ่นและภูมิภาค รวมถึงสามารถใช้ทรัพยากรภายนอกและร่วมมือกับภาคเอกชนสนับสนุนให้บัณฑิตมีคุณภาพโดยการศึกษาดูงาน การดำเนินการสหกิจศึกษา ตลอดจนเชิญผู้ประกอบการที่มีประสบการณ์สูงมาเป็นวิทยากรพิเศษ