Statistics Statistics
12841
Online User Online2
Today Today5
Yesterday Yesterday3
ThisMonth This Month5
LastMonth Last Month189
ThisYear This Year1,095
LastYear Last Year1,362

เกี่ยวกับเรา (About us)>>>

สืบเนื่องจากการปฏิรูประบบสุขภาพและการเติบโตของธุรกิจบริการสุขภาพอย่างรวดเร็ว ของประเทศไทย ทำให้ความต้องการบุคลากรด้านสุขภาพเพิ่มมากขึ้น     เป็นผลให้เกิดความขาด แคลนบุคลากรในหลายสาขาวิชา เช่น พยาบาล แพทย์ นักอาชีวอนามัย เป็นต้น ด้วยความ ตระหนักถึงความขาดแคลนบุคลากรด้านสุขภาพของจังหวัดนครปฐม จังหวัดใกล้เคียง ตลอดจน ระดับประเทศสภามหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม ในการประชุม ครั้งที่ 9/2549 เมื่อวันที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ.2549 ได้มีมติเห็นชอบให้มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐมผลิตบัณฑิต สาขาสุขภาพ และให้มีองค์กรรองรับการผลิตบุคลากรในสาขานี้ มหาวิทยาลัยฯจึงได้กำหนดจัดตั้ง คณะพยาบาลศาสตร์ และประกาศเป็นส่วนงานภายในฐานะเทียบเท่าคณะวิชาของมหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม ตั้งแต่วันที่ 8 มีนาคม 2552 โดยมีรองศาสตราจารย์ ดร.สุนุตตรา  ตะบูนพงศ์ จากคณะพยาบาลศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ดำรงตำแหน่งเป็นหัวหน้าโครงการจัดตั้ง คณะพยาบาลศาสตร์ และได้พัฒนาหลักสูตรรวมทั้งเสนอโครงการจัดตั้งคณะพยาบาลศาสตร์ต่อ สภามหาวิทยาลัยและสภาการพยาบาลตามลำดับ   สภาการพยาบาลในคราวประชุมครั้งที่ 6/2552 วันที่ 12 มิถุนายน  2552 มีมติให้ความ เห็นชอบหลักสูตรพยาบาลศาสตรบัณฑิต (หลักสูตรใหม่ พ.ศ. 2552)  และให้การรับรองคณะ พยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  เป็นสถาบันผลิตพยาบาลได้  ปัจจุบันสภาการ พยาบาลมีหนังสือรับรองเลขที่  สภ.พ.01/05/666  ลงวันที่  22  พฤษภาคม  2557  แจ้งมติการ ประชุมสภาการพยาบาลครั้งที่  4/2557  เมื่อวันที่  16  พฤษภาคม  2557  เห็นชอบรับรองเป็น ระยะเวลา  3  ปี  กล่าวคือ  ให้การรับรองการจัดการศึกษาของคณะพยาบาลศาสตร์  มหาวิทยาลัย ราชภัฏนครปฐม ปีการศึกษา 2557 ถึง 2559ทั้งนี้คณะฯ เปิดรับนักศึกษามาแล้วทั้งสิ้น 6 รุ่น
รวม 200 คน สำเร็จการศึกษาแล้ว 3 รุ่น จำนวน 143 คน   ในช่วงที่ผ่านมา เป็นของการดำเนินงานเป็นช่วงเวลาของการเรียนรู้ การจัดการและปรับโครงสร้างการบริหาร  ระเบียบ  กฎ  กติกา  และข้อปฏิบัติในด้านต่าง ๆ ตลอดจนการจัดหา ทรัพยากรบุคคลที่มีความขาดแคลนสูง และทรัพยากรด้านอื่น ๆ เพื่อการผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและ ประสิทธิภาพ  และการทำงานร่วมกันอย่างเป็นสุข ทั้งนี้เสียงสะท้อนจากผู้ใช้บัณฑิต ทำให้เหล่า คณาจารย์ บุคลากร และคณะฯ รู้สึกปิติยินดีกับผลงานของเราที่เป็นไปตามอัตลักษณ์ที่เราได้ร่วมกัน กำหนด  และรังสรรค์ขึ้น  นั่นคือ
“จิตอาสา  ให้คุณค่าจรรยาบรรณ  มุ่งมั่นพัฒนาทักษะ”