Statistics Statistics
15683
Online User Online7
Today Today17
Yesterday Yesterday9
ThisMonth This Month165
LastMonth Last Month131
ThisYear This Year674
LastYear Last Year1,380

 ผลของการฝึกปฏิบัติสมาธิและระบบคิดเชิงบวกต่อสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา

Effects of the Meditation Training and Positive Thinking System on the Academic Achievement

ขนิษฐา  เจริญพานิช, บุญชะนะ  วาราชะนนท์ และ ชูเกียรติ  ปาวิไลย

บทคัดย่อ
Abstract

ในหลักการของจิตตปัญญาศึกษาได้กำหนดไว้ว่าเมื่อผู้เรียนมีสมาธิจะก่อให้เกิดระบบคิดเชิงบวกแล้วจะนำผลสู่สัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาที่ดีขึ้น ดังนั้นงานวิจัยนี้จึงทำการทดลองให้มีการปฏิบัติสมาธิก่อนที่จะดำเนินการเรียนการสอนและวัดผลการศึกษากับนักศึกษาชั้นปีที่1 โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ จำนวน 139 คน ที่กำลังศึกษาในรายวิชาการคิดและการตัดสินใจ ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552  ผลการวิจัยพบในเชิงประจักษ์ว่าระบบคิดเชิงบวกมีผลต่อสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้เมื่อนำการปฏิบัติสมาธิเข้าร่วมพิจารณาด้วยก็พบว่าได้ก่อผลในทางบวกเช่นเดียวกัน กล่าวคือ นักศึกษาที่นั่งสมาธิจะมีสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาเพิ่มมากขึ้นเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มที่ไม่ได้นั่งสมาธิหลังจากที่ได้ทำการควบคุมปัจจัยทางด้านประชากรเช่นเพศแล้ว 

  In the contemplative education, it is said that after students do meditation, their positive thinking system will develop, resulting to be better academic achievement. Therefore, in this research, the experiment on the  meditation training before learning was done.  In the experiment, the subjects attended meditation training before learning, after that academic achievement evaluation was done. The subjects of this study were 139 first year students of the business administration program, Faculty of Management Science, Nakhon Pathom Rajabhat University. They had studied Thinking and Decision Making Subject during the first semester of the academic year 2009. The results of this research showed that, in positive thinking system, there were positively affected on the academic achievement at the level of significant differences.  In addition, it was found that the meditation training also had a positive effect on the academic achievement. In other words, the students attending meditation training  had the academic achievement higher than those of not attending the training, compared after gender factor had been controlled. 


เพศและการฝึกปฏิบัติสมาธิกับระบบคิดเชิงบวก

Gender and Meditation Training and Positive Thinking System

บุญชะนะ  วาราชะนนท์ ,ขนิษฐา  เจริญพานิช  และ ชูเกียรติ  ปาวิไลย

บทคัดย่อ
Abstract
  งานวิจัยนี้ทำการตรวจสอบความแตกต่างทางเพศที่คาดว่าจะก่อผลสู่การนั่งปฏิบัติสมาธิและจะมีผลสู่ระบบคิดเชิงบวกในกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจสาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม โดยทำการศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552  มีผู้เข้าร่วมทั้งหมด 139 คน แบ่งเป็นเพศชาย  37 คน เพศหญิง102 คน ปฏิบัติสมาธิ106 คนและไม่ปฏิบัติสมาธิ 33 คน  ผลการพิสูจน์พบว่า เพศที่แตกต่างกันไม่ก่อผลไปสู่ความแตกต่างในการปฏิบัติสมาธิอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ที่น่าสนใจยิ่งคือ การปฏิบัติสมาธิจะมีผลในทางบวกต่อการมีระบบคิดเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อนำปัจจัยด้านเพศเข้าร่วมพิจารณาด้วย     อนึ่งผลการวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า ปัจจัยด้านเพศส่งผลทางลบต่อระบบคิดเชิงบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติกล่าวคือเพศชายจะมีระบบคิดเชิงบวกน้อยกว่าเพศหญิงอย่างชัดเจนหากมีการปฏิบัติสมาธิอย่างสม่ำเสมอ  ข้อค้นพบนี้สามารถยืนยันได้ว่า  การปฏิบัติสมาธิได้ก่อผลในทางที่ดียิ่งขึ้นต่อระบบคิดเชิงบวกอย่างแท้จริง   This research investigated whether or not the gender differences affected meditation training and positive thinking system of the first year students of business administration program, general management major, Faculty of Management Science, Nakhon Pathom Rajabhat University. This research was done during the first semester of the academic year 2009 and the subjects were 139 students. There were 37 males and 102 females; 106 of them attended meditation training while 33 of them did not attend the training.The results revealed that when considering gender differences, there was no statistically significant in meditation training. Also the meditation training positively affected positive thinking system at the level of significant differences according to gender factor. Furthermore, this result showed that gender factor has a negative effect on positive thinking system at the level of significant differences. In other words, male students obviously had lower degree of positive thinking system than female students, if they always attended the meditation training. These results confirmed that the meditation training had truly increased positive thinking system of students. 

ภูมิหลังครอบครัวกับการฝึกปฏิบัติสมาธิและสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษา

Family Background and the Meditation Training and Academic Achievement

ชูเกียรติ  ปาวิไลย, บุญชะนะ  วาราชะนนท์ และขนิษฐา  เจริญพานิช 

บทคัดย่อ
Abstract
งานวิจัยนี้ทำการตรวจสอบความแตกต่างของภูมิหลังครอบครัวที่คาดว่าจะก่อผลต่อสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาในกลุ่มนักศึกษาชั้นปีที่ 1 โปรแกรมวิชาบริหารธุรกิจ สาขาวิชาการจัดการทั่วไป คณะวิทยาการจัดการ  มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม  จำนวน 139 คน ที่กำลังศึกษาในรายวิชาการคิดและการตัดสินใจ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2552    ผลการพิสูจน์ชี้ให้เห็นในเชิงประจักษ์ว่า ภูมิหลังครอบครัวที่แตกต่างกันส่งผลเชิงบวกต่อสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ แต่ที่น่าสนใจยิ่งคือ การปฏิบัติสมาธิจะมีผลในทางบวกต่อสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติเมื่อนำปัจจัยด้านเพศเข้าร่วมพิจารณาด้วย อนึ่งผลการวิจัยนี้ยังชี้ให้เห็นอย่างชัดเจนว่า กลุ่มนักศึกษาที่มีภูมิหลังครอบครัวที่อบอุ่น คือ พ่อแม่ยังอยู่ด้วยกัน หากปฏิบัติสมาธิอย่างสม่ำเสมอจะมีสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัดเมื่อเปรียบเทียบกับกลุ่มนักศึกษาที่มีภูมิหลังครอบครัวแบบอื่นๆ ข้อค้นพบนี้สามารถยืนยันได้ว่า   ภูมิหลังครอบครัวได้ก่อผลในทางที่ดียิ่งขึ้นต่อสัมฤทธิ์ผลทางการศึกษาอย่างแท้จริง 

  This research investigated the difference of family background which may affect academic achievement. The subject of this study were 139 first year students of business administration program, general management major, Faculty of Management Science, Nakhon Pathom Rajabhat University, who studied Thinking and Decision Making in the first semester of academic year 2009. The results of this research empirically showed that when considering family background, there were positively significant in the academic achievement. Buddhist meditation training positively affected on the academic achievement in the level of significantly differences, compared after gender factor had been controlled. Furthermore, this research obviously indicated that students with warm family, parent live together, had higher degree of the academic achievement than students who had different family background, if they always attended the meditation training. These results confirmed that background of family had really increased students’ academic achievement. 

จิตสาธารณะที่มีผลต่อระบบคิดเชิงบวกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน

Public Mind on Positive Thinking System and Academic Achievement

ขนิษฐา  เจริญพานิช, บุญชะนะ  วาราชะนนท์ และ เปรมสุข  ใจภักดี 

บทคัดย่อ
Abstract

การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษานำร่องโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาจิตสาธารณะที่มีผลต่อระบบคิดเชิงบวกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มตัวอย่างเป็นนักศึกษาชั้นปีที่1 มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จำนวน 270 คน ที่กำลังศึกษาในรายวิชาการคิดและการตัดสินใจ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา2553ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบง่ายที่เป็นการเลือกแบบเจาะจง(purposive sampling) การเก็บรวบรวมข้อมูลใช้ แบบวัดจิตสาธารณะ แบบวัดความคิดเชิงบวกและแบบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ(percentage)  ค่าเฉลี่ย(mean)  ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน(standard deviation)และเพื่อนำไปสู่การวิเคราะห์นำร่อง(Pilot Study) แม้ว่าวิธีการได้มาของตัวอย่างจะไม่เป็นไปตามวิธีการสุ่มตัวอย่างที่อ้างอิงโอกาสของความน่าจะเป็นเพราะใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบง่าย แต่การวิจัยนี้จะขอทำ การทดสอบเพื่อพิจารณาผลความสัมพันธ์ก่อนว่าจิตสาธารณะจะมีผลต่อระบบคิดเชิงบวกและผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนดังนั้นจึงเลือกใช้การวิเคราะห์การถดถอยพหุคูณ (Multiple Regression Analysis) และการวิเคราะห์โมเดลเชิงเส้นระดับลดหลั่น (Hierarchical  linear Model)  ผลการวิจัยพบว่า จิตสาธารณะมีผลต่อระบบคิดเชิงบวกในทางบวกอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ นอกจากนี้ยังพบว่าการมีระบบคิดเชิงบวกไม่มีความสัมพันธ์กับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติแต่ที่น่าสนใจยิ่งคือ การมีระบบคิดเชิงบวกจะก่อผลในทางบวกต่อผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเมื่อนำปัจจัยด้านเพศเข้าร่วมพิจารณา 

This research was a pilot study that the purposes of this research were to study public mind on positive thinking system and academic achievement. A sample for this study consisted of 270  first year students of  Nakhon  Pathom  Rajabhat  University. They had studied Thinking and Decision Making Subject during the second semester of the academic year 2010   who  were  chosen by purposive sampling of simple random sampling. The instruments  for collecting research data were a  public mind  questionnaire , a  positive  thinking  questionnaire  and the test for academic achievement. Data were analyzed  by  percentage (%), mean, standard  deviation(S.D.) for pilot study. Although, This method derived by simple random sampling technique  was no probability sampling but the experiment of this research were to study effects of the relationships of public mind ,  which may affect positive thinking system and academic achievement.  Therefore, this research was done through Multiple Regression Analysis and  Hierarchical linear Model. The results of  this research showed that, in public mind, there were positively affected  on positive thinking system at the level of significant differences.  In addition, it was found that positive thinking system was no statistically significant on the academic achievement.Also the positive thinking system positively affected on  the academic achievement, compared after gender factor had been controlled.