ประวัติและการพัฒนาหลักสูตร
พ.ศ. 2550 หลักสูตรเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสารได้จัดทำหลักสูตรแบ่งออกเป็น 3 แขนงวิชา คือ แขนงพัฒนาระบบสารสนเทศ แขนงเทคโนโลยีมัลติมีเดีย แขนงเทคโนโลยีครือข่ายและการสื่อสาร โดยได้เปิดรับนักศึกษาแขนงละหนึ่งหมู่เรียนเป็นอย่างน้อย โดยในปีการศึกษา 2550 เป็นปีการศึกษาแรกที่มีการจัดการเรียนการสอนในลักษณะแขนงวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียและทำการจัดการเรียนการสอนในรูปแบบแขนงวิชาจนถึงปีการศึกษา 2557
พ.ศ. 2559 คณะกรรมการจัดทำหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดียได้ทำการเปิดหลักสูตรใหม่ โดยยกระดับแขนงเทคโนโลยีมัลติมีเดียให้เป็นหลักสูตรเทคโนโลยีมัลติมีเดีย โดยหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อให้เป็นนักปฏิบัติในสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในแนวคิด หลักการทางเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น ให้มีโอกาสฝึกฝนการจัดระบบความคิด มีความรู้และทักษะเพิ่มจากการฝึกปฏิบัติ ประกอบกับสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ นอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้จากต่างศาสตร์มาผสมผสานเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ได้ โดยทำการเปิดรับนักศึกษารุ่นแรกในปีการศึกษา 2560 โดยมีอาจารย์ ดร.ศัลยพงศ์ วิชัยดิษฐ เป็นประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดียคนแรก
การจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ขึ้นมาใหม่โดยแยกจากสาขาวิชาเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร โดยหลักสูตรมุ่งผลิตบัณฑิตเพื่อให้เป็นบัณฑิตนักปฏิบัติในสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในแนวคิด หลักการทางเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น ให้มีโอกาสฝึกฝนการจัดระบบความคิด มีความรู้ และทักษะเพิ่มจากการฝึกปฏิบัติ ประกอบกับสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ นอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้จากต่างศาสตร์มาผสมผสานเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ ได้ คุณสมบัติของผู้สมัคร คือ รับจากผู้สำเร็จการศึกษาระดับมัธยมศึกษาตอนปลายหรือเทียบเท่า ระดับอนุปริญญาหรือเทียบเท่า ระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า
วิทยาการด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีการพัฒนาไปอย่างเร็วมาก มีการค้นพบความรู้ใหม่ทางด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ เทคโนโลยีมัลติมีเดียอย่างต่อเนื่องและมีซอฟต์แวร์ออกมาเป็นจำนวนมาก ประกอบกับมีการนำความรู้ทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดียไปประยุกต์ใช้ในการผลิตงานใหม่ๆ อยู่เสมอ มีการเปลี่ยนแปลงที่ปรากฏชัดเจนในสังคมปัจจุบัน มีการผสมผสานความรู้ต่างศาสตร์เพื่อนำไปใช้ประโยชน์เพิ่มมากขึ้น ดังนั้นเพื่อให้บัณฑิตทางด้านสาขาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เป็นผู้ที่มีความรอบรู้ที่กว้างขวางและทันต่อการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก และในขณะเดียวกันต้องมีความรู้ที่ชัดเจนในศาสตร์ทางด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย มีศักยภาพทางความคิด และสามารถติดตามความก้าวหน้าทางวิชาการในระดับสากล สามารถปฏิบัติงานตอบสนองความต้องการและการเปลี่ยนแปลงของวิทยาการในสังคมไทยทั้งในปัจจุบันและอนาคต จึงเห็นสมควรจัดทำหลักสูตรวิทยาศาสตรบัณฑิต สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ให้มีความเหมาะสมยิ่งขึ้น
โดยหลักสูตรนี้เน้นให้ผู้เรียนในสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย เป็นผู้ที่มีความเข้าใจในแนวคิด หลักการทางเทคโนโลยีมัลติมีเดียมากยิ่งขึ้น ให้มีโอกาสฝึกฝนการจัดระบบความคิด มีความรู้และทักษะเพิ่มจากการฝึกปฏิบัติ ประกอบกับสามารถแสวงหาความรู้จากแหล่งต่าง ๆ นอกห้องเรียน รวมทั้งสามารถนำความรู้จากต่างศาสตร์มาผสมผสานเพื่อให้เกิดความเชื่อมโยงความรู้ต่าง ๆ อันจะนำไปสู่ความเข้าใจในภาพรวมของระบบการทำงานในระดับต่าง ๆ ได้และสามารถประยุกต์ความรู้มาใช้ในงานต่าง ๆ ได้อย่างมีคุณภาพ พร้อมทั้งมีความรู้พื้นฐานที่แน่นพอเพียงสำหรับการศึกษาต่อในระดับสูงทั้งภายในประเทศและต่างประเทศ
ทำเนียบประธานสาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย
ชื่อ - นามสกุล | ช่วงเวลา |
อ.ดร.ศัลยพงศ์ วิชัยดิษฐ | 21 พฤศจิกายน พ.ศ. 2559 - 17 มิถุนายน พ.ศ. 2560 |
อ.สุชารัตน์ จันทาพูนธยาน์ | 18 มิถุนายน พ.ศ. 2560 - 21 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 |
อ.กุลยา เจริญมงคลวิไล | 22 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2561 - 30 พฤศจิกายน พ.ศ. 2562 |
อ.ดร.ศัลยพงศ์ วิชัยดิษฐ | 1 ธันวาคม พ.ศ. 2562 - ปัจจุบัน |
"เทคโนโลยีมัลติมีเดียสร้างสื่อ ยึดถือจริยธรรม"
ปณิธาน
สาขาวิชาเทคโนโลยีมัลติมีเดีย คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยราชภัฏนครปฐม จะผลิตบัณฑิตด้านเทคโนโลยีมัลติมีเดีย ให้เป็นที่ยอมรับ
วิสัยทัศน์
ผลิตบัณฑิตนักปฏิบัติ ผลิตนวัตกรรมมุ่งสู่ความคิดสร้างสรรค์ ควบคู่คุณธรรมและจริยธรรม